header.html


Member Register

มูลนิธิประเทศสีเขียว
โครงการประเทศสีเขียว
โครงการประเทศสีเขียว
โครงการธนาคารต้นไม้โลก
โครงการออมทรัพย์สีเขียว
บริษัท ดินดีน้ำใส จำกัด
A.B.N.INTER
พสุธาแพลนติ้ง
โครงการการศึกษาสีเขียว สู่มาตรฐานสากลอาเซี่ยน 2016(Green Education Project for ASEAN Community 2016)
ต้นเงินเศรษฐี
QR Code greencountry984
QR Code greencountry984
  Thai Eglish
รายงานผลการวิเคราะห์ข้อเท็จจริง



ต้น “พญาคชราช” (Payakocharach)
Talipariti macrophyllum (Roxb. ex Hornem.) Fryxell
รายงานผลการวิเคราะห์ข้อเท็จจริง
ของโครงการ ประเทศสีเขียว

 

ดำเนินงานโดย

A.B.N.INTER

บริษัท เอ.บี.เอ็น. อินเตอร์เนชั่นแนล บิสซิเนส จำกัด
สำนักงานโครงการ: 20 ซอย รามคำแหง 170 แยก 3 แขวงมีนบุรี กรุงเทพมหานคร 10510
Tel : 02-917-4760-1 Fax : 02-917-4761 Mobile : 085-055-8031, 087-066-9947

ต้น“ พญาคชราช ” (Payakocharach)

ชื่อพฤกษศาสตร์

: Talipariti macrophyllum (Roxb. ex Hornem.) Fryxell

วงศ์

: Malvaceae

อันดับ

: Malvales

ชื่อการค้า

: พญาคชราช (Payakocharach)

ชื่อสามัญ

: ไม่มีข้อมูล

ชื่อท้องถิ่นในประเทศไทย

: ปอหู(สระบุรี,นครราชสีมา) ,ปอจง (ปัตตานี)


ป้ายชื่อ “ปอหู” ซึ่งเป็นชื่อเดิมของต้น “พญาคชราช” ตั้งอยู่ที่ อุทยานแห่งชาติ เขาใหญ่



นายพงศรันทร์ ซุ้นสุวรรนศรี   ประธานโครงการประเทศสีเขียว

ที่มาของชื่อ ต้น “พญาคชราช”  (Payakocharach )

      ต้น “พญาคชราช” (Payakocharachเป็นชื่อใหม่ของต้น  “ปอหู” ที่ตั้งขึ้นโดย
นายพงศรันทร์ ซุ้นสุวรรนศรี ประธานโครงการประเทศสีเขียว ซึ่ง“พญาคชราช” เป็นชื่อที่เป็นมงคล
ตามที่เชื่อกันว่าเป็นไม้มงคลสายพันธุ์หนึ่งและเพื่อนำมาใช้เรียกเฉพาะในโครงการประเทศสีเขียวเท่านั้น
เนื่องจากอาจมีการเข้าใจผิดโดยการนำเอาพันธุ์ไม้ชนิดอื่นที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน แต่คุณสมบัติแตกต่างกันมา
ใช้เรียกว่าเป็นต้น “พญาคชราช”    

ลักษณะทั่วไปด้านพฤกษศาสตร์

ลำต้น (Stem)

      “พญาคชราช” (Payakocharach) เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูง 15-30 เมตร
(สำหรับในประเทศไทย ต้น “พญาคชราช” โตเต็มที่ ที่พบในป่าธรรมชาติมีขนาดโตทางเส้นรอบวงเพียงอก
ประมาณ 280 ซม. สูงประมาณ 27 เมตร)ผลัดใบและผลิใบใหม่พร้อมกับดอก ลำต้น เปลา ตรง โคนเป็นพูพอน

    

เรือนยอด
เป็นพุ่มทรงกลมหรือรูปกรวย กิ่งตั้งฉากกับลำต้น ส่วนใหญ่ลำต้นเปลาตรงมีการผลิใบใหม่พร้อมกับดอกตามธรรมชาติ

  

เปลือก (Bark)
สีน้ำตาล อมเขียวอ่อน มีสีเทาแต้มเป็นรอยด่างและมีรอยย่นกระจายทั่วไป  เปลือกในเป็นเส้นใยสีน้ำตาลแดง

ใบ ( Leaf)
เป็นชนิดใบเดี่ยว (simple leaf) ออกเรียงเวียนสลับกัน (spirate) รูปหัวใจ (cordate) มีขนาดประมาณ
5-12 x 10-24 ซม. โคนหยัก เว้า ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย เนื้อค่อนข้างหนา
และมีขนนุ่มทั่วไป ใบแก่ผิวใบเกลี้ยง หน้าใบเขียวเข้ม หลังใบเขียวอ่อน และจะหลุดร่วงไปเมื่อใบแก่
เส้นแขนงใบมี 7-14 คู่เห็นชัดทั้งสองด้าน

  

ดอก (Flower)



ดอกเป็นชนิดดอกช่อ ( inflorescence flower) แบบ Raceme สีส้มอ่อนๆ หรือเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อ เป็นพวงสั้นๆ
ตามง่ามใบตอนปลายๆกิ่ง 

ผล (Fruit)



เป็นชนิดผลเดี่ยว ( simple fruit) เป็นประเภทผลแห้ง (dry fruit) แบบ nut รูปทรงกระสวยเกลี้ยงๆ เป็นผลชนิดปีก
เดี่ียว ลักษณะ เป็นกระโดงโค้งยาวประมาณ 10 ซม. หุ้มส่วนหนึ่งของผล ดูคล้ายใบเรือ

เมล็ด ( Seed)
มี 1 เมล็ด  เมื่อแกะเปลือกและขนอ่อนๆรอบเมล็ดออกจะเห็นเมล็ดสีน้ำตาล รูปร่างคล้ายเงินจีนขนาด
0.35 x 0.55 มม. เมล็ดแห้งหนัก 1 กิโลกรัม มีจำนวนเมล็ดประมาณ 20-30 ล้าน

  

การสืบพันธุ์ตามธรรมชาติ (Natural Regeneration)
     สามารถพบเห็นกลุ่มไม้ “พญาคชราช” ขึ้นอยู่ทั่วไปในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมใกล้ๆต้นพันธุ์ขนาดใหญ่
ที่มีเมล็ดซึ่งถูกลมพัดพาไปต้นพญาคชราชพบการกระจายพันธุ์อยู่ในช่วงเส้นรุ้งที่ 9-27 องศาเหนือ ตั้งแต่ประเทศ
เนปาลไล่มาทางทิศ ตะวันออกจนถึงบังคลาเทศ อินเดีย ศรีลังกา พม่า ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซียฟิลิปปินส์
รวมไปจนถึงหมู่เกาะปาปัวนิวกินี ในประเทศไทยต้น “พญาคชราช” มีการกระจายพันธุ์แทบทุกภาคของประเทศ
โดยพบที่เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ตาก แพร่ กำแพงเพชร อุทัยธานี เลย เพชรบูรณ์ นครราชสีมา ปราจีนบุรี
ฉะเชิงเทรา ระยอง ชลบุรี ตรัง สตูล และภูเก็ต ขึ้นได้ตั้งแต่ที่ราบริมทะเลไปจนถึงระดับความสูง 1,000 เมตร
ปริมาณนํ้าฝนรายปี 1,000-5,000 มิลลิเมตรโดยมักพบต้น “พญาคชราช” ขึ้น เป็นกลุ่มล้วน ๆ ในป่าดังเดิมที่ถูกแผ้ว
ถางแล้วปล่อยทิ้งร้างไว้้ หรือสองข้างทางรถยนต์ที่ตัดผ่านป่าที่ค่อนข้างชุ่มชื้น เช่น ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้งเป็นต้น

ลักษณะทางนิเวศวิทยา (Ecological aspects)
     การเจริญเติบโตของต้น “พญาคชราช” ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายชนิดที่สำคัญได้แก่ ดิน นํ้า อุณหภูมิ และแสงสว่าง
ดินที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้น “พญาคชราช”ได้แ่ก่่ ดินตะกอนทับถม ที่มีผิวหน้าดินลึกและระบายนํ้า
ดีมีความอุดมสมบูรณ์สูงความชื้นในดินเป็นปัจจัยสำคัญในการควบคุมการเจริญเติบโตของต้น “พญาคชราช”
จะขึ้นได้ดีในท้องที่ที่มีฝนตกประมาณ 1,500 – 5,000  มิลลิเมตรต่อปีและมีความชื้นในอากาศไม่ตํ่ากว่า 80
เปอร์เซ็นต์ อุณหภูมิเป็นปัจจัย สำคัญในการควบคุมการเจริญเติบโตของต้นพญาคชราช อีกปัจจัยหนึ่งต้น
“พญาคชราช” เจริญเติบโตได้ดีที่ อุณหภูมิระหว่าง 21 – 32  องศาเซลเซียส ที่อุณหภูมิสูงกว่า หรือตํ่ากว่าช่วง
ดังกล่าว การ เจริญเติบโตของต้น “พญาคชราช” จะลดลง แสงเป็นปัจจัยมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของต้น
“พญาคชราช”อีกชนิดหนึ่งไม่น้อยไปกว่าดิน นํ้า และอุณหภูมิ นั่นคือ ต้น “พญาคชราช” ก็เป็นพรรณไม้ที่ต้องการ
แสงมากชนิดหนึ่ง (light demanding species) การเจริญเติบโตของต้น “พญาคชราช”
(เทียบจากปริมาณนํ้าหนักแห้งทั้งต้น) จะดีที่สุดเมื่อปลูกในที่มีความเข้ม ของแสงปริมาณ 75% (ของ full daylight)
และจะช้าที่สุดเมื่อปลูกในที่ที่มีความเข้มแสงประมาณ 25 % เท่านั้นสำหรับด้านความสูงของ ต้น “พญาคชราช”
ถ้าปลูกในที่ที่ได้รับแสง 100 % จะสูงที่สุดและต้น “พญาคชราช” ปลูกในที่ที่ได้รับแสง 25 % จะเตี้ยที่สุด
ความยาวนานของแสง  (day length) ในช่วง 8, 12 และ 16 ชั่วโมง มีผลต่อความแตกต่างด้านการเจริญเติบโต
ของกล้าไม้ต้น “พญาคชราช”น้อยมาก
    

   

ต้นกล้า อายุ 1 อาทิตย์หลังจากย้ายพันธุ์กล้าที่เพาะโดยเมล็ดลงถุงเพาะชำขนาด 2x4 นิ้ว

   

ต้นกล้า อายุ  90 วัน หลังจากเพาะเมล็ดและย้ายลงถุงเพาะชำขนาด 2x4 นิ้ว

>>> [ 1 ][ 2 ][ 3 ][ 4 ][ 5 ][ 6 ][ 7 ][ 8 ] <<<


 
Copyright © GREENCOUN.COM 2008 All rights reserved
20, Soi Ramkhamhaeng170 yaek3, Ramkhamhaeng Rd, Minburi, Bangkok 10510 Thailand
Tel : 02-917-4760-1 , 02 540 2048-9 Fax : 02-917-4761
Mobile : 090-951-7598 , 091-716 6093

เช่าโฮส, hosting, ออกแบบเว็บไซต์,ไทยบางกอกโฮสท์